วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เกษตรระยอง นำคณะเกษตรกรจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยบ้านคลองหวายโสม ศึกษาดูงานแปลงใหญ่ผักจ.ฉะเชิงเทราและจ.สระแก้ว

     วันที่ 27-26 มิถุนายน 2566 นางสาววรนุช สีแดง เกษตรจังหวัดระยองมอบหมายให้นายภาสกร ใจแจ่มนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนางสาวพิมณิศา ตันติชุฬา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต พร้อมด้วยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง และเจ้าหน้าที่สำนักานเกษตรอำเภอวังจันทร์ นำคณะเกษตรกรจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยบ้านคลองหวายโสม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง จำนวน 10 ราย ที่ต้องการได้รับมาตรฐาน GAP แบบกลุุ่ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนำร่องและขยายผลงานส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรแบบกลุ่มตามระบบควบคุมภายใน GAP's Internal Control Systems เข้ารับการศึกษาดูงาน ดังนี้

    วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปลงใหญ่ผักตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนายดวงจันทร์ ชาบรรทมประธานแปลงใหญ่เป็นวิทยากรระยองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในเรื่องการรวมกลุ่มบริหารจัดการกลุ่มในการผลิตผักวางจำหน่ายที่ ห้างสรรพสินค้า Mackro การบริหารจัดการกลุ่มของประธาน การรวมกลุ่มกันทำการตลาด การแพ็คบรรจุภัณฑ์ การวางแผนการผลิตเพื่อให้มีผักเพียงพอต่อความต้องการของตลาด 

    และศึกษาดูงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านคลองมะละกอ กลุ่มเพื่อนใจอินทรีย์ ตำบลสระขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นทั้งศูนย์ศพก.และแปลงใหญ่ โดยมีนายยุทธพงษ์ รัตนวิทย์ ประธานกลุ่มเป็นวิทยากร ในการบรรยายเรื่องการปลูกผักอินทรีย์ การได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS การบริหารจัดการกลุ่มโดยให้สมาชิกหักส่วนแบ่ง 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานในการแพ็ค การจำหน่ายสินค้าในตลาด ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีการบริหารจัดการเวลาเหลือสามารถไปทำอย่างอื่นต่อได้และสมาชิกในกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนกลุ่มมีความเข็มแข็ง มีห้องมาตรฐานสำหรับแพ็คบรรจุภัณฑ์ผักอินทรีย์โดยเฉพาะ มีการบริหารจัดการการทำปุ๋ยหมักใช้เองภายในกลุ่มเป็นการลดต้นทุนและสร้างรายได้จากการขายได้อีกช่องทางด้วย 

    ซึ่งการศึกษาดูงานในครั้งนี้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ได้รับความรู้ในด้านการรวมกลุ่มผลิตผัก ทำให้เกษตรกรสามารถต่อรองราคาทางการตลาดได้ และยังได้รับความรู้ในด้านอื่นๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตต่อไปได้ 






















วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เกษตรระยอง ร่วมดำเนินกิจกรรมนำร่องและขยายผลงานส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรแบบกลุ่มตามระบบควบคุมภายใน GAP's Internal Control Systems

    วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 นางสาววรนุช สีแดง เกษตรจังหวัดระยองมอบหมายให้นายภาสกร ใจแจ่มนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนางสาวพิมณิศา ตันติชุฬา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง โดยมีเกษตรกรจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักผลอดภัยบ้านคลองหวายโสม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง จำนวน 10 ราย ที่ต้องการได้รับมาตรฐาน GAP แบบกลุ่ม เข้ารับการฝึกอบรมในหัวข้อเรื่อง การผลิตพืชผักตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) จากเจ้าหน้าที่สวพ.6 โดยมีการบรรยายความรู้เรื่องข้อกำหนด 8 ประการเพื่อได้การรับรองแหล่งผลิต GAP พืช ได้แก่ 1.น้ำ 2.พื้นที่ปลูก 3.วัตถุอันตรายทางการเกษตร 4.การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนเก็บเกี่ยว 5.การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว 6.การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูกและเก็บรักษา 7.สุขลักษณะส่วนบุคคล 8.บันทึกข้อมูลและการตามสอบ เพื่อให้เกษตรกรได้นำไปปฏิบัติตามและผ่านการได้รับมาตรฐาน GAP ต่อไป ณ ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยบ้านคลองหวายโสม อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง




วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เกษตรระยอง จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรต้นแบบในโครงการส่งเสริมการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

    วันที่ 22 มิถุนายน 2566 นางสาววรนุช สีแดง เกษตรจังหวัดระยองมอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรต้นแบบในโครงการส่งเสริมการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และศึกษาดูงานกิจกรรมภายในแปลงเรียนรู้ฯ ให้กับเกษตรกรต้นแบบในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของจังหวัดระยอง จำนวน 5 ราย ประกอบไปด้วยอำเภอเมืองระยอง บ้านค่าย ปลวกแดง บ้านฉาง และนิคมพัฒนา โดยนายอัครชัย ยางสง่า เกษตรกรต้นแบบจากอำเภอบ้านค่าย ร่วมถ่ายทอดความรู้ในครั้งนี้ ซึ่งประกอบไปด้วย เทคนิคการใช้วัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ในการทำแปลงผัก ผักยกแคร่ การปลูกผักในวงบ่อ การทำค้างผักสำหรับไม้เลื้อย การทำกระถางต้นไม้จากยางรถยนต์ และการทำปุ๋ยหมักเติมอากาศโดยใช้ท่อ PVC เพื่อให้เกษตรกรมีการพัฒนาองค์ความรู้ในการทำการเกษตรตามศาสตร์พระราชา และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเกษตรกรต้นแบบทั้ง 5 อำเภอเพื่อสร้างเครือข่ายงานส่งเสริมพระราชดำริของจังหวัดระยอง ณ สวนฝึกรู้กสิกรรมไร้สาร ตำบลชากบก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง












วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เกษตรระยอง ตรวจสอบข้อร้องเรียนกรณีขอแจ้งเบาะแสการจำหน่ายทุเรียนด้อยคุณภาพ (อ่อน)

     วันที่ 21 มิถุนายน 2566 นางสาววรนุช สีแดง เกษตรจังหวัดระยองพร้อมด้วยนางสาวนิธินาฏ เมืองแมน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต เกษตรอำเภอวังจันทร์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดระยอง และคณะกรรมการมาตรการควบคุมทุเรียนด้อยคุณภาพ (อ่อน) ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อร้องเรียนที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยองว่า มีผู้ซื้อได้ซื้อทุเรียนด้อยคุณภาพ (อ่อน) 13 กิโลกรัม เป็นจำนวนเงิน 2,470 บาท ในบริเวณร้านค้าทุเรียนริมถนนทางหลวงหมายเลข 334 (บ้านบึง-แกลง) ฝั่งซ้ายขาเข้าจังหวัดชลบุรี เลยทางเข้าวัดวังจันทร์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง โดยผู้ร้องเรียนมีความประสงค์ขอจำนวนเงินดำกล่าวคืน และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบปัญหาดังกล่าว ทางคณะทำงานจึงลงพื้นที่ไปตรวจสอบแก้ไขปัญหาและได้ให้ผู้ขายทุเรียนคืนเงินให้กับผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว 






วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เกษตรระยอง ร่วมถ่ายทำวีดิทัศน์การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตทุเรียน ฟาร์มรื่นรมย์

    วันที่ 14 มิถุนายน 2566 นางสาววรนุช สีแดง พร้อมด้วยนางสาวสมหมาย พลมณี หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ และนางสาวนิธินาฎ เมืองแมน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต ร่วมถ่ายทำคลิปวีดิทัศน์เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตทุเรียน และการแปรรูปเพิ่มมูลค่าทุเรียน เพื่อนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ทางช่องทางต่างๆ ณ ฟาร์มรื่นรมย์ ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ของนายวสันต์ รื่นรมย์ เกษตรกรสาขาอาชีพทำสวน รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ของประเทศ











วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เกษตรระยอง ร่วมประชุมบูรณาการแผนบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดสับปะรดภาคตะวันออก ปี 2566

    วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน 2566 นางสาววรนุช สีแดง เกษตรจังหวัดระยอง มอบหมายให้นายภาสกร ใจแจ่ม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และนายโชตินรินทร์  ชีพสุกใส นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง เข้าร่วมประชุมบูรณาการแผนบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดสับปะรดภาคตะวันออก ปี 2566 เพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการด้านการผลิต และการตลาดสับปะรดในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากซึ่งอาจมีผลกระทบในเรื่องของราคาผลผลิต ที่ตกต่ำของ 4 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด และระยอง ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตร จังหวัดระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง








วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เกษตรระยอง ร่วมถ่ายทำ VTR ประชาสัมพันธ์แปลงใหญ่พืชผักตำบลป่ายุบใน

   วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566 นางสาววรนุช สีแดง เกษตรจังหวัดระยอง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอวังจันทร์ ร่วมถ่ายทำคลิป VTR แปลงใหญ่พืชผักตำบลป่ายุบใน ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง โดยมีเกษตรกรสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่เข้าร่วมในการถ่ายทำในการปลูกผักปลอดภัย เพื่อนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ทางช่องทางข่าวออนไลน์ และทางช่องทางโทรทัศน์ NBT ต่อไป











วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เกษตรระยอง จัดประชุมการดำเนินการขออนุญาติใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (สับปะรดทองระยอง)

     วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 นางสาววรนุช สีแดง เกษตรจังหวัดระยอง มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต จัดประชุมการดำเนินการขออนุญาติใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (สับปะรดทองระยอง) โดยมีนางจิรนันท์ บัวสำลี พาณิชย์จังหวัดระยอง เป็นประธานในการประชุม โดยมีหัวข้อในการประชุมดังนี้ เรื่องการดำเนินการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย คู่มือการปฏิบัติงานและแผนควบคุมตรวจสอบสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย แบบประเมินตรวจสอบคุณภาพ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ระดับอำเภอและระดับจังหวัด และแผนการดำเนินการรับขึ้นทะเบียน GI ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง